ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนถึงร้อนที่สุด ยิ่งในภาวะโลกร้อนที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีก็ยิ่งเหมือนเติมอุณหภูมิความร้อนให้กับบ้านของเราความร้อนอบอ้าวที่อยู่ภายในบ้านของเรานั้น ปกติแล้วมีสาเหตุอยู่ไม่กี่อย่างคือวัสดุที่ใช้ในการสร้างบ้านไม่มีคุณสมบัติบัติป้องกันความร้อน หรือตัวบ้านไม่มีช่องทางให้ลมระบายเข้า-ออกได้ จึงทำให้ความร้อนสะสมอยู่ภายในบ้าน 

ฉนวนกันความร้อน ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยคลายร้อนให้กับเรา การติดฉนวนกันร้อนให้กับหลังคาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะจะช่วยให้บ้านที่เรารักเย็นสบายมากขึ้น แถมยังช่วยประหยัดพลังงาน ประหยัดค่าไฟได้อีกมากมายเลยทีเดียว

ฉนวนกันความร้อนคืออะไร

พูดง่าย ๆ ก็คือ ฉนวนกันความร้อน คือวัสดุที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้อุณหภูมิความร้อนจากแสงแดด ทะลุภายนอกเข้ามาสู่ภายในบ้านเรานั่นเอง ส่วนใหญ่แล้วจะติดไว้ใต้หลังคา บนแผ่นฝ้า หรือในผนัง เพื่อช่วยในการดูดซับ และสะท้อนรังสีของความร้อนออกไปจากบ้านพักอาศัย หรืออาคารต่าง ๆ ให้มากที่สุด การติดตั้งฉนวนบริเวณโถงหลังคาจะช่วยลดความร้อนได้มากกว่าติดตั้งในส่วนอื่นของบ้าน เพราะแสงแดดและความร้อนกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ จะเข้ามาจากทางหลังคา และด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้มีการผลิต ฉนวนกันความร้อน ออกมาให้เลือกใช้เป็นจำนวนมากมายหลายแบบ ตามความเหมาะสมในการใช้งาน หากเป็นบ้านพักอาศัย มักจะนิยมใช้ฉนวนแบบแผ่น หรือฉนวนสำเร็จรูป ที่มีลักษณะเป็นแผ่นหรือเป็นม้วนมากกว่า เพราะสามารถรื้อเปลี่ยนใหม่ได้ง่าย ติดตั้งได้สะดวกรวดเร็ว โดยทั่วไปมี 4 ประเภท ที่นิยมในการเลือกใช้งาน คือ อลูมิเนียมฟอยล์ โพลีเอธิลีนโฟม บับเบิ้ลฟอยล์ และฉนวนใยแก้ว ซึ่งแต่ละแบบนั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป

หลักในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุ ฉนวนกันความร้อน

คือความสามารถในการป้องกันความร้อน (R-Value)  ช่วงอุณหภูมิการใช้งาน การเปลี่ยนรูปร่างเมื่อได้รับความร้อน การกันน้ํา และ ความชื้น การทนต่อแมลง และ เชื้อรา ความปลอดภัยต่อสุขภาพ  การเสื่อมสภาพ และการบํารุงรักษา ซึ่งต้องเลือกให้เข้ากับลักษณะ และ ประเภทของการใช้งาน เพียงเท่านี้ ก็ทําให้คุณสามารถเลือก วัสดุฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสม และสามารถ ช่วยประหยัดพลังงานภายในที่อยู่อาศัยของคุณได้

รู้จักกับประเภทของวัสดุฉนวนกันความร้อน มีแบบไหนบ้าง

1. ฉนวนแบบอลูมิเนียมฟอยล์

เป็นฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น ตัวฉนวนมีความเหนียว ไม่ขาดง่ายและไม่ลามไฟ ด้วยความบางของตัวฉนวนแบบอลูมิเนียมฟอยล์ทำให้คุณสมบัติการกันความร้อนค่อนข้างน้อย แต่จะเน้นที่การสะท้อนความร้อนออกเป็นหลัก ซึ่งสามารถสะท้อนความร้อนได้มากกว่า 90% ขึ้นไป

การติดตั้งก็สามารถทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก โดยส่วนมากจะติดตั้งใต้หลังคาและที่สำคัญคือจะต้องเว้นช่องว่างระหว่างตัวฉนวนกับเพดานประมาณ 1 นิ้วขึ้นไป ซึ่งฉนวนประเภทนี้สามารถติดตั้งร่วมกับฉนวนแบบอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกันความร้อนได้

2. ฉนวนแบบโฟม

มีทั้งชนิดที่เป็นแผ่น เช่น โพลีเอทิลีน หรือ ชนิดฉีดพ่น เช่น โฟมโพลียูรีเธน สามารถป้องกันความร้อนได้ดี แต่หากเปรียบเทียบกัน จะพบว่าฉนวนประเภทโฟม สามารถป้องกันน้ำ และกันความชื้นได้ แต่ก็แพ้รังสียูวีของดวงอาทิตย์ จึงไม่เหมาะสม กับการนำไปใช้งาน ที่มีอุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน เนื่องจากมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส อาจทำให้บิดงอ หรือ เกิดเพลิงลุกไหม้ได้

3. ฉนวนใยแก้ว หรือ ไฟเบอร์กลาส

ฉนวนกันความร้อนที่มีทั้งแบบแผ่นและม้วน ซึ่งจะแบ่งเป็นฉนวนแบบเคลือบด้วยอลูมิเนียมฟอยล์และแบบฉนวนใยแก้วเปล่าๆ ตัวใยแก้วมีคุณสมบัติทั้งกันความร้อนได้มากถึง 90% และสามารถดูดซับเสียงเสียงได้ ตัวฉนวนมีหลากหลายความหนาตั้งแต่ 1 นิ้วไปจนถึง 3 นิ้ว ซึ่งฉนวนใยแก้วสามารถติดตั้งที่ผนัง หลังคาคอนกรีต หลังคากระเบื้องและฝ้าเพดาน ส่วนมากมักจะถูกติดตั้งตามห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงอาคารบ้านเรือนทั่วไปด้วยเช่นกัน

เราอาจเคยได้ยินว่าฉนวนใยแก้วเป็นอันตรายต่อสุขภาพเมื่อสูดดมเข้าสู่ร่างกายหรือเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งตามจริงแล้วนั้นใยแก้วไม่มีอันตรายมากมายขนาดนั้น แต่หากสูดดมเข้าไปอาจเกิดอาการระคายเคืองที่จมูกและหากสัมผัสโดนมากๆก็อาจเกิดอาการคันได้ เพราะฉะนั้นทางที่ดีที่สุดเราควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญมาติดตั้งฉนวนใยแก้วให้เรา

4. ฉนวนประเภทเซลลูโลส

เป็นฉนวนที่ผลิตจากเยื่อไม้ หรือเยื่อกระดาษ ทั้งนี้จึงต้องใส่สารป้องกันการลุกลามของไฟ ส่วนใหญ่มักเป็นชนิดพ่นใต้ช่องว่างหลังคา หรือฝ้าเพดาน มีคุณสมบัติในการกันความร้อนดีพอ ๆ กับฉนวนใยแก้ว แต่การติดตั้งค่อนข้างยุ่งยาก เพราะต้องพ่นเข้าไปในหลังคา ให้มีความหนามากกว่า 2 นิ้ว

 

 

5. ฉนวนใยหินร็อควูล (RockWool)

ฉนวนกันความร้อนที่มีทั้งแบบแผ่นและม้วน สามารถกันความร้อนได้ดี มักนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เน้นด้านการกันความร้อนหรือป้องกันเรื่องอัคคีภัยเป็นหลัก เพราะสามารถกันความร้อนได้ในอุณหภูมิสูงได้ถึง 600 – 800 องศาเซลเซียส ซึ่งฉนวนรูปแบบนี้ไม่เหมาะสำหรับการป้องกันความเย็นหรือห้องที่มีความชื้นมากๆ

ตามข่าวที่เคยมีประกาศว่าใยหินนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคน แท้จริงแล้วสิ่งที่เป็นอันตรายคือแร่ใยหินที่ถูกนำมาใช้ในการกันความร้อนในยุคแรก แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาใยหินร็อควูลที่ผลิตจากหินธรรมชาติ และสามารถป้องกันทั้งความร้อนและเสียงได้

6. ฉนวนแบบแคลเซียมซิลิเกต (Calcium Silicate)

เป็นฉนวนกันความร้อนที่มีทั้งแบบแผ่นและแบบหุ้มท่อที่สามารถกันความร้อนได้สูง ตั้งแต่ 600 องศาถึง 1,000 องศาเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังสามารถกันความชื้น ไม่ติดไฟและมีความแข็งแรงทนทาน จึงมักจะนำฉนวนแบบแคลเซียมซิลิเกตนี้มาใช้ในโรงงานที่มีเตาเผาหรือเตาหลอมที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ เพื่อกั้นความร้อนจากเตาเผาต่างๆไม่ให้ออกไปสู่จุดอื่น

 

7. ฉนวนแบบเซรามิคโค้ตติ้ง (Ceramic Coating)

ฉนวนกันความร้อนแบบพ่นที่เน้นการสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ออกจากตัวอาคารบ้านเรือนเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติทนต่อสภาพอากาศและสารเคมีต่างๆอีกด้วย ตัวเซรามิคโค้ตติ้งไม่ติดไฟ เมื่อพ่นแล้วยังสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของหลังคาและป้องกันการรั่วเวลาฝนตกได้อีกด้วย ดังนั้นฉนวนประเภทนี้มักจะนำมาพ่นที่หลังคาชนิดต่างๆ เพื่อสะท้อนความร้อนและทำให้ตัวบ้านหรืออาคารภายในมีอุณหภูมิที่ลดลง

8. ฉนวนเวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite)

ฉนวนที่มีส่วนผสมของเวอร์มิคูไลท์ที่ทำจากแร่ไมก้าเป็นหลัก ฉนวนประเภทนี้สามารถหลอมเป็นรูปร่างต่างๆได้ ซึ่งเวอร์มิคูไลท์สามารถนำไปหลอมรวมกับส่วนผสมต่างๆเพื่อให้เกิดการกันความร้อนที่มากขึ้นได้ เช่น นำไปหล่อรวมกับปูนซีเมนต์และทราย จนกลายเป็นคอนกรีตเวอร์มิคูไลท์ที่สามารถกันความร้อนได้ดีกวาคอนกรีตทั่วไปมาก

หลักในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุ ฉนวนกันความร้อน คือความสามารถในการป้องกันความร้อน (R-Value)  ช่วงอุณหภูมิการใช้งาน การเปลี่ยนรูปร่างเมื่อได้รับความร้อน การกันน้ํา และ ความชื้น การทนต่อแมลง และ เชื้อรา ความปลอดภัยต่อสุขภาพ  การเสื่อมสภาพ และการบํารุงรักษา ซึ่งต้องเลือกให้เข้ากับลักษณะ และ ประเภทของการใช้งาน เพียงเท่านี้ ก็ทําให้คุณสามารถเลือก วัสดุฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสม และสามารถ ช่วยประหยัดพลังงานภายในที่อยู่อาศัยของคุณได้