หลายๆพื้นที่ในประเทศไทยตอนนี้ กำลังประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่ บางพื้นที่อาจต้องใช้เวลา บางพื้นที่สถานการณ์เร่้ิมดีขึ้น  หลังเวลาล่วงผ่าน ระดับน้ำในหลายพื้นที่เริ่มลดลง บางพื้นท่กลับสู่สภาพปกติ ทำให้ผู้คนเริ่มกลับเข้าบ้าน พร้อมกับภารกิจที่รออยู่มากมาย ทั้งเก็บ กวาด เช็ด ถูก ล้าง ขัด ทิ้ง รวมถึงซ่อมแซมสิ่งของเครื่องใช้ที่เสียหายมาจากอุทกภัย

การดูแลบ้านก่อน และหลังน้ำท่วมเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้เจ้าของบ้านซ่อมแซมกันได้อย่างถูกวิธี CEALECT จึงรวบรวมข้อมูล เทคนิค มาแนะนำให้ใช้ปฏบัติกันได้อย่างถูกต้อง โดยปัญหาที่เจอหนักๆ จะเป็นบ้านยุคเก่าที่ใช้ไม้ในการก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่ซึ่งบ้านไม้ค่อนข้างมีปัญหา หลังน้ำลดเพราะเนื้อไม้มีการพองตัว ซึ่งควรให้แห้งแล้วทาน้ำยารักษาเนื้อไม้ป้องกันความชื้น ส่วนบ้านปูนโครงสร้างมีปัญหาน้อย ในส่วนของกำแพง ควรทิ้งให้แห้งสนิทประมาณ 14 วัน ในส่วนของบ้านที่ปูพื้นด้วยหินธรรมชาติเมื่อน้ำท่วมนานอาจมีรูพรุน แม้น้ำจะเลิกท่วมควรติดต่อ วิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ให้เข้ามาตรวจตัวโครงสร้างของบ้าว่ายังแข็งแรงอยู่หรือไม่ 

เช็คความเรียบร้อยหรือสัตว์มีพิษต่างๆ

ก่อนเริ่มตรวจเช็คว่ามีรส่วนไหนในบ้าน ได้รับความเสียหายหลังน้ำท่วมบ้าง ต้องระมัดระวังว่าจะมีสิ่งใดหักพัง ชำรุด ล้ม โค่น รวมไปถึงดูด้วยว่าสัตว์มีพิษ หรือสัตว์อันตรายอยู่ในบริเวณบ้างหรือเปล่า หากพบเจอสัตว์มีพิษขนาดใหญ่เช่นตะกวด งู หรืออื่นๆเราไม่ควรกำจัดเอง แต่ควรเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดการดูแลให้สิ่งที่สำคัญเวลาเข้าไปตรวจบ้านที่ประตูและวงกบเป็นไม้ อาจเจอปัญหาประตูเปิดไม่ได้ ไม่ควรใช้กบไสไม้แก้ไขเพราะ หลังจากไม้แห้งประตูอาจเข้ารุปเหมือนเดิม ขณะเดียวกันตัวโครงสร้างบ้านไม้ถ้ามีปัญหาเจ้าของบ้านควรติดต่อ วิศวกรมาตรวจดูแลเพราะช่วงน้ำท่วม น้ำไหลแรงอาจมีขอนไม้ที่มากับน้ำพัดมาทำลายโครงสร้างได้

ตรวจดูพื้นที่บ้านด้านนอก

หลังน้ำท่วมเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นพื้น กำแพง สวน สนามหญ้า จะได้รับความเสียหายทั้งสิ้น สำหรับพื้น ผนัง กำแพง อาจมีตะไคร่เกาะ เราสามารถขัดหรือล้างได้ตามปกติเนื่องจากเป็นพื้นที่ภายนอก ไม่ต้องกังวลเรื่องความชื้นจะมีผลกระทบต่อเฟอร์นิเจอร์ หรือสิ่งของต่างๆ หลังทำความสะอาดแล้วปล่อยให้อากาศและลมภายนอกถ่ายเทไม่ให้ความชื้นหรือเชื้อโรคค้างอยู่

ส่วนสนามหญ้านั้นหากน้ำท่วมเป็นระยะเวลานาน แน่นอนว่าหญ้า หรือต้นไม้อาจเน่าหากน้ำท่วมมิดยอดหญ้าเกินสองสัปดาห์แนะนำให้ลอกหน้าดินที่เน่าแล้วตากดินให้แห้ง พรวนดินผสมปุ๋ยคอกเพื่อเตรียมลงหญ้าใหม่ แต่ถ้าไม่ท่วมมิดยอดหญ้า ยังสามารถตัดหญ้าใหม่เพื่อให้มันสามารถแตกได้ตามธรรมชาติ

ตรวจดูพื้นที่ในตัวบ้าน

ไม่ว่าจะเป็นผนัง หรือพื้นด้านในนั้นกักเก็บความชื้นได้ดีกว่าพื้นที่ด้านนอกเนื่องจากไม่สามารถระบายอากาศได้ดีเท่าพื้นที่ด้านนอก หลังจากขัดทำความสะอาดพื้นที่ด้านในแล้ว หลายๆคนอาจรู้สึกอยากทาสีใหม่เพื่อทำให้บ้านกลับมาน่าอยู่สวยงาม แต่การทาสีใหม่เลยทันทีอาจจะทำให้สีที่ทาใหม่นั้นล่อนไม่ติดพื้นผิว เนื่้องจากพื้นผิวยังมีความชื้นหลงเหลืออยู่ดังนั้นควรค่อยๆ ฟื้นฟูบ้านหลังน้ำท่วม โดยปล่อยให้แดด ลมที่ส่องผ่านทำให้พื้นแห้งไม่สะสมความชื้นกับเชิื้อโรคไปก่อน

หลังจากนั้นให้ท่านเจ้าของบ้านทำการ LIST รายการเบื้องต้น เพื่อดูว่ามีรายการอะไรบ้างที่ชำรุดและต้องการการซ่อมแซมเร่งด่วน หรือซ่อมหลังๆ เช่น

ระบบไฟฟ้า

ตรวจสอบดูว่ายังใช้งานได้ปกติดีอยู่หรือไม่ มีสายไฟชำรุดหรือเปล่า ในการเช็คระบบไฟฟ้าจะต้องสวมใส่ชุดป้องกันกระแสไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งหากไม่ชำนาญ แนะนำให้ปิเบรคเกอร์ไฟฟ้าทั้งหมดก่อน และรอให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบ

เฟอร์นิเจอร์ในบ้าน ประตู หน้าต่าง ของใช้ต่างๆ

ตรวจสอบว่าสิ่งเหล่านี้ชำรุดหรือไม่ ถ้าสิ่งเหล่านี้ที่เกล่ามามีส่วนประกอบเป็นไม้ แนะนำให้ตากไว้ในที่ร่ม ห้ามโดนแดดเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ไม้โค้งบิดงอได้

พื้นบ้าน

ตรวจสอบดูว่าพื้นของท่านได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใด โดยปกติพื้นจะได้รับความเสียหายไม่มาก ถ้าเป็นพื้นไม้ พื้นหิน และ พื้นที่ปูพรม ให้ดูว่าไม้บวมมั้ย หินมีคราบหรือไม่ พรมอับชื้นหรือเปล่า

ผนังบ้าน

ตรวจสอบผนังบ้านว่าลอกไหม ชื้นหรือไม่

ฝ้าเพดาน

ตรวจสอบว่าฝ้าเพดานมีความปลอดภัยหรือไม่ สังเกตดูด้วยตาเปล่า ว่าฝ้ามีการแอ่นตัวหรือไม่และมีคราบน้ำในปริมาณมากหรือเปล่า ถ้าเป็นตามสองอย่างที่ว่ามา ให้รื้อถอนก่อนจะซ่อมส่วนอื่นๆ เพราะฝ้าอาจจะถล่มลงมาทำอันตรายได้

ระบบสุขาภิบาทในบ้าน

ดูว่าส้วมและท่อระบายน้ำ กดน้ำลงหรือไม่ ถ้าไม่้ลงให้ลองเอาที่ปั้มส้วมลองปั้มเทสการทำงานของส้วมถ้าไม่ไหล ถือว่าระบบมีปัญหา

ระบบประปา

ตรวจสอบว่า แทงก์น้ำ หรืออ่างเก็บน้ำของเรามีน้ำเสียเจือปนมั้ย มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปหรือเปล่า สังเกตได้จากกลิ่น สีจะแปลกไปจากเดิม


สำหรับพื้นที่ ที่เคยน้ำท่วมแล้ว มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวซ้ำอีกครั้ง การเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์และของใช้ภายในบ้านใหม่ จึงควรเลือกวัสดุที่เหมาะกับสภาพพื้นที่ ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมขัง อาทิ ไม่ควรเลือกเฟอร์นิเจอร์ไม้อัด MDF เนื่องจากไม้ชนิดดังกล่าวไม่ทนน้ำ เมื่อโดนน้ำขังเป็นเวลานานจะบวมน้ำและเปื่อยยุ่ย ไม่สามารถนำมาใช้ต่อได้ หรืออาจเลือกของใช้ที่มีฟังก์ชัน สามารถยกย้าย เปลี่ยนระดับได้ง่าย อย่างชั้นวางของชนิด DIY ผลิตจากวัสดุโลหะ กันน้ำและปรับระดับความสูงได้นอกจากข้าวของเครื่องใช้แล้ว หากเป็นไปได้ควรอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมแผนรองรับ เช่น ยกบ้านให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันน้ำไหลเข้า อย่างไรก็ตามเหตุการณ์น้ำท่วมสำหรับบางพื้นที่ อาจไม่ได้หนักหรือเกิดขึ้นบ่อย เพียงแค่จัดเตรียมพื้นที่สำหรับขนย้ายข้าวของก็อาจเพียงพอต่อความปลอดภัยในเหตุการณ์น้ำท่วม