สวัสดีครับวันนี้ Cealect นำเรื่องที่สำคัญที่สุดมาเป็นเกร็ดความรู้คงหนีไม่พ้นกัน กับเรื่อง COVID-19 อีกแล้ว ถึงกับมีหลายคนพูดว่าโอกาสติดมีมาก  แต่อดที่จะปวดหัวกังวลใจ เป็นห่วงคนที่เรารักแต่จะไม่ให้เครียดได้อย่างไรเพราะรู้หรือไม่ว่าการจามหรือไอเพียงครั้งเดียวสามารถแพร่กระจายไวรัสได้ถึง 3,000 จุด และยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นถ้าอยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อในระยะใกล้กว่า 1.8 เมตร หรือประมาณ 6 ฟุต ทำให้โอกาสที่จะติดก็ไม่ยากนัก  ดังนั้นทั้งตัวบุคคลเองและสถานที่ส่วนใหญ่จึงหันมาเอาจริงเอาจังกับการทำความสะอาดอาคารบ้านเรือน เพราะโอกาสที่จะไปสัมผัสเชื้อโรคเข้ามาจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ วันนี้ Cealect มีวิธีทำความสะอาดบ้านให้ปลอดเชื้อ เพื่อป้องกันเจ้าโควิดและโรคติดต่ออื่นๆ มาฝากกัน บ้านเราจะได้สะอาด ปราศจากเชื้อ อย่างน้อยก็สร้างความสบายใจและความมั่นใจได้อีกระดับหนึ่งครับ

พื้นผิวส่วนไหนในบ้านที่มีโอกาสสูงที่จะมีไวรัส Covid-19 เกาะติดอยู่?

พื้นผิวหรืออุปกรณ์ที่ถูกสัมผัสบ่อยครั้งมีโอกาสสูงมากขึ้นในการมีเชื้อโรคแฝงอยู่ อุปกรณ์ที่ถูกจับบ่อยๆ เช่น รีโมทคอนโทรล มือเปิดปิดตู้เย็น ที่จับประตู ก๊อกน้ำ สวิทช์ไฟต่างๆ อุปกรณ์ในครัว โต๊ะ เก้าอี้ หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตก็มีโอกาสสูงที่จะมีไวรัสแอบแฝงตัวอยู่

ควรเช็ดทำความสะอาดเครื่องใช้วันละ 1 ครั้ง

ควรเปิดบ้านให้มีอากาสถ่ายเทก่อนเริ่มทำความสะอาดให้ใช้ผ้าชุมน้ำเช็ดฝุ่นก่อนใช้น้ำยาทำความสะอาด แน่นอนว่าการทำความสะอาดจะช่วยขจัดเชื้อโรคต่าง ๆ ออกไป ซึ่งเชื้อโรคดังกล่าวส่งผลต่อสุขภาพของคนในบ้าน หากไม่นับรวมเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็มีเชื้อโรคมากมายที่เราสามารถกำจัดออกไปจากบ้านได้เพียงแค่ใส่ใจกับการทำความสะอาด โดยเฉพาะ 

หมายเหตุ: โควิด-19 หรือไวรัสโคโรนา มีชื่อเรียกในทางการแพทย์ว่า SARS-CoV-2 เนื่องจากมีลักษณะทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับซาร์ส แม้จะเป็นไวรัสที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ต่ำ และถูกทำลายได้ด้วยแอลกอฮอล์ แต่ไวรัสชนิดนี้ก็สามารถอยู่บนพื้นผิววัสดุได้อย่างน้อย 2-3 วัน

ซักผ้าแล้วอย่าสะบัด

สำหรับผ้าที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อ ถ้าใช้เครื่องซักผ้าให้ตั้งค่าเป็นน้ำร้อนและต้องตากหรืออบให้แห้งสนิท ข้อควรระวังคืออย่าสะบัดผ้าก่อนซักเพราะอาจกระจายเชื้อจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งได้ และอย่าลืมล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัสผ้าเหล่านั้น

จานชาม มีด อุปกรณ์เครื่องครัวควรทำอย่างไร?

ถ้าเป็นไปได้ล้างด้วยน้ำร้อนกับน้ำยาล้างจานปกติก็เพียงพอ ยิ่งถ้าบ้านไหนใช้เครื่องล้างจานจะดีมากเพราะปกติเครื่องล้างจานจะใช้น้ำร้อนและมีการอบจานชามด้วยความร้อนอยู่แล้ว

ทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วม

ควรหมั่นล้างด้วยน้ำยาล้างห้องน้ำอย่างสม่ำเสมอ และอาจทำลายเชื้อโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไลท์ 0.1 % ทิ้งไว้อย่างน้อย 10 นาทีเช็ดเน้นที่รองนั่งโถส้วม ฝาปิดโถส้วม ที่กดชักโครก ราวจับ ลูกบิดหรือกลอนประตู ที่แขวนกระดาษชำระ อ่างล้างมือ ก๊อกน้ำ ที่วางสบู่ ผนัง ซอกประตู

จัดการขยะหน้ากากอนามัยให้เรียบร้อย
  1. ห้ามใช้ซ้ำ หรือ นำกลับมาใช้ใหม่
  2. ก่อนทิ้งหน้ากากอนามัยให้ตัด ฉีก หรือทำลายก่อน เพื่อป้องกันการนำกลับมาใช้ใหม่
  3. ให้แยกทิ้งหน้ากากอนามัยจากขยะประเภทอื่นๆ หรือทิ้ง ณ จุดทิ้งและจุดรวบรวมเฉพาะสำหรับหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว
  4. ห้ามเก็บกักหน้ากากอนามัยใช้แล้วไว้ในที่พักอาศัย เกิน 7 วัน

การป้องกันตนเองเป็นวิธีการที่ดีที่สุด

พื้นผิวสัมผัสต่างๆ มีส่วนสำคัญมากในการกระจายไวรัส ดังนั้นการป้องกันไม่ให้พื้นผิวต่างๆ มีไวรัสเกาะติดตั้งแต่แรกเป็นวิธีที่ดีที่สุด คือใส่หน้ากากเพื่อป้องการแพร่กระจายเมื่อมีการไอ จาม หรือใช้ทิชชูปิดปาก ถ้าไม่มีจริงๆ ให้จามที่ข้อศอก และล้างมือทันทีหลังการไอ จาม หรือถึงแม้ไม่มีอาการไอ จามต้องหมั่นล้างมือให้บ่อยที่สุด ข้อแนะนำในการล้างมือฟอกสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หรือถ้าใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือต้องมีความเข้มข้นไม่ต่ำกว่า 70% โดยควรล้างมือก่อนและหลังการทำสิ่งเหล่านี้

  • หลังการสั่งน้ำมูก ไอ จาม
  • หลังใช้ห้องน้ำ
  • หลังจากเล่นกับสัตว์เลี้ยง
  • ก่อนทำอาหาร
  • ก่อนรับประทานอาหาร
  • ก่อนดูแลผู้อื่น เช่น เด็กหรือผู้สูงอายุ

เครดิต 

https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prepare/cleaning-disinfection.html

https://www.nzherald.co.nz/lifestyle/news/article.cfm?c_id=6&objectid=12318832

https://www.bbc.com/future/article/20200317-covid-19-how-long-does-the-coronavirus-last-on-surfaces