วิกฤตน้ำท่วม-รถติดอย่างแสนสาหัสในพื้นที่กรุงเทพฯหลายปีติดต่อกัน ส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ทั้งที่มีปัญหานี้ตลอดแต่ทำไมถึงยังมีเหตุการณ์แบบเดิมเกิดขึ้นทุกปีกันล่ะ นั่นเป็นเพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในกรุงเทพฯ นั้นมาจากหลายสาเหตุ ทั้งเหตุผลทางภูมิศาสตร์และสาเหตุที่เกิด Cealect หาข้อมูลมาวิเคระห์ถึงสาเหตุที่แท้จริงแล้วสาเหตุหลักของการเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ มาจากปัจจัย ดังนี้

เกิดจากความสูงของ กทม. กับน้ำดับน้ำทะเล

อย่างที่รู้กันว่าเมืองหลวงของเราอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 1.5 เมตรเท่านั้น ทว่าสภาวะน้ำท่วมกรุงมีแนวโน้มจะกระทบกับพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นวงกว้าง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและการทรุดตัวของพื้นดินที่เกิดขึ้นทุกปี การสูบน้ำบาดาล โดยเฉพาะในกรุงเทพซีกตะวันออก ทำให้พื้นดินเตี้ยลงปีละ 3 มม. นอกจากนี้ภาวะโลกร้อนทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายและระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเรื่อยๆทุกปีด้วย ส่งผลให้น้ำท่วมมากขึ้นและหนักขึ้นเรื่อยๆทุกปี โดยเฉพาะช่วงน้ำทะเลหนุนสูง

การขยายตัวของเมืองและสิ่งปลูกสร้าง

การขยายตัวของเมืองรวมถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มขึ้น เป็นอุปสรรคหนึ่งของการระบายน้ำในกรุงเทพฯ ข้อมูลจากสำนักการระบายน้ำระบุว่าการขยายตัวของชุมชนอย่างรวดเร็ว ทำให้พื้นที่ว่างที่เคยเป็นที่รองรับและกักเก็บน้ำตามธรรมชาติหายไป น้ำที่เคยมีที่ดูดซับไว้ก็ไม่มีที่ไปจึงไหลมารวมกันตามผิวจราจร

ตัวอย่างเช่นพื้นที่เขตลาดพร้าว ในอดีตเคยเป็นทุ่งรับน้ำ แต่ต่อมามีการสร้างอาคารพาณิชย์ หมู่บ้านจัดสรร และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ ไม่เว้นแม้แต่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ กลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้กทม.มีพื้นที่รับน้ำลดลง

นายพิจิตต รัตนกุล อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ข้อมูลไว้เมื่อปลายปี 2558 ว่า การเจิรญเติบโตของเมือง ทำให้พื้นที่รับน้ำที่เชื่อมกับคลองใน กทม.ลดลงเกือบร้อยละ 40 โดยเฉพาะกรุงเทพชั้นนอก ที่มีการพัฒนาเมืองจนไม่เหลือพื้นที่รับน้ำจะเห็นได้ว่า ยิ่งความเป็นตัวเมืองขยายไปมากขึ้นเท่าไร ก็มีความเสี่ยงที่น้ำจะไม่สามารถระบายได้ทันเนื่องจากพื้นที่ดินที่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้มากเท่านั้น ทุกอย่างจึงพึ่งอยู่กับระบบการระบายน้ำเพียงอย่างเดียว

ขยะอุดตันท่อระบายน้ำ

ปัญหาขยะในประเทศไทยเป็นเรื่องที่แก้ไม่หาย โดยจากรายงานจำนวนขยะมูลฝอยปี 2562 จากสำนักสิ่งแวดล้อมพบว่า ภายในกรุงเทพฯ มีขยะมูลฝอย 10,564 ตัน/วัน ซึ่งนอกจากจำนวนที่มากแล้ว ยังมีส่วนของการคัดแยกขยะก่อนทิ้งที่ไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และการทิ้งขยะไม่ลงถัง ปล่อยให้ลอยเกลื่อนลงแม่น้ำ ลำคลอง ส่งผลให้ขยะเหล่านี้เกิดการสะสมอยู่ตามท่อระบาย ดังนั้นเมื่อฝนตกจนมีปริมาณน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ การระบายน้ำจึงไม่สามารถระบายได้ทัน เพราะขยะที่อุดตันจำนวนมาก

ฝนตกปริมาณมาก

เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร โดยกรุงเทพฯ อยู่ภายใต้เขตมรสุม ทำให้มีฝนตก และยิ่งตั้งแต่ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมจนถึงกลางเดือนตุลาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนของประเทศไทย ในช่วงนี้ในกรุงเทพฯ จะมีฝนตกเกือบจะทุกวัน ซึ่งถ้าปีไหนได้รับผลกระทบจากพายุก็จะส่งผลให้ฝนตกหนักมากจนเกิดอุทกภัยหรือไฟฟ้าดับ ต้องเตรียม ไฟฉุกเฉิน กันทุกปี

ชนิดของดินในเขตกรุงเทพฯ

มีลักษณะเป็นดินในที่ราบลุ่มแม่น้ำ โดยช่วงผิวดินจะเป็นดินเหนียวที่มีการระบายน้ำค่อนข้างยาก นอกจากนั้นยังเป็นชั้นดินที่มีการกักเก็บน้ำบาดาล ทำให้เมื่อสูบน้ำบาดาลมาใช้ชั้นดินจะยุบตัวลงและต่ำกว่าระดับน้ำทะเลไปเรื่อย ๆ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วมได้เช่นกัน

ช่องระบายน้ำไม่เพียงพอ

เนื่องจากเป็นเมืองใหญ่จึงมีการเปลี่ยนการระบายน้ำจากทางน้ำธรรมชาติมาเป็นช่องท่อระบายน้ำ ซึ่งเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำที่มีนั้นไม่เพียงพอ น้ำจึงเกิดการท่วมขังตลอด

การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือสถานการณ์เหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ละบ้านแต่ละหน่วยงานต้องเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สำคัญก็เช่น กำแพงกั้นน้ำ เพื่อลดการเสียหายของทรัพย์สินลง หรือกักตุนอาหารหรือสิ่งจำเป็นไว้ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถเดินทางออกไปจากบ้านได้ เพื่อให้สามารถบรรเทาความรุนแรงจากน้ำท่วมลงและสามารถมีชีวิตรอดในช่วงน้ำท่วมนั่นเอง