“บ้าน” บ้านไม่ใช่แค่สิ่งปลูกสร้างหรือโครงสร้างทางวิศวกรรมที่ถูกออกแบบมาให้เราอยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว แต่ที่นี่ต้องเป็นได้มากกว่านั้น เพราะบ้านคือสถานที่ที่เราได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิตในทุกจังหวะ จึงต้องเต็มไปด้วยคุณภาพ และเหมาะสำหรับการพักผ่อนอย่างแท้จริง ดังนั้นไม่มีใครอยากให้บ้านตนเองมีปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา “บ้านทรุดบ้านร้าว” 

วันนี้ Celect มานำเสนอ สาเหตุของการเกิดปัญหา “บ้านทรุดบ้านร้าว” ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ทำไมถึงเกิดการทรุดตัว

สาเหตุที่ทำให้เกิดบ้านทรุดตัวหรือบ้านร้าว

1. เสาเข็มสั้นเกินไป

การก่อสร้างในระบบฐานรากตื้น เช่นการใช้เสาเข็มสั้น 6 เมตร หรือชั้นดินที่มีลักษณะเป็นดินเหนียวอ่อน เมื่อมีน้ำหนักส่งผ่านจากเสาเข็มลงสู่ดินหรือระดับของน้ำใต้ดินลดต่ำลง ดินจะยุบตัวมากและเป็นผลให้เสาเข็มทรุดตัวตามไปด้วย

2. ปลายเสาเข็มอยู่ในดินที่ต่างชนิดกัน

หมายความว่าบ้านหลังเดียวกันอาจจะมีระดับของชั้นดินไม่เท่ากันหรืออยู่ในดินคนละประเภทกัน หากเราออกแบบหรือใช้เสาเข็มประเภทเดียวกันเท่ากันทั้งหมดเลย ทำให้บ้านทรุดตัวไม่เท่ากัน อาจจะนำไปสู่ทรุดหรือแตกร้าวของตัวบ้านได้ วิธีที่แนะนำคือควรเจาะสำรวจดิน (SOIL BORING TEST) เป็นการเจาะหรือขุดดินเพียงเล็กน้อย เพื่อต้องการทราบชนิดของดิน การเรียงตัวของชั้นดิน ระดับน้ำใต้ดินและอื่นๆ  เพื่อดูความแข็งแรงของดินและใช้คำนวณหาการทรุดตัวของสิ่งก่อสร้าง เพื่อที่จะได้ทำการออกแบบฐานรากและเสาเข็มให้เหมาะสม

3. ปัญหาที่เกิดจากตัวเสาเข็มเอง

เมื่อเสาเข็มชำรุดจะไม่สามารถถ่ายน้ำหนักไปยังดินแข็งได้ ทำให้บ้านเกิดการทรุดเอียงซึ่งการทรุดในลักษณะนี้จะไม่ค่อยเห็นรอยแตกที่โครงสร้างส่วนบน แต่จะพบรอบแตกที่ฐานรากหรือเสาตอม่อ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียวในการซ่อมแซม

4. เสาเข็มรับน้ำหนักได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ

การเลือกใช้เสาเข็มไม่ได้ดูเฉพาะความยาวเพียงอย่างเดียวนะคะ หากเราไม่ได้ทำการสำรวจสภาพชั้นดิน อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ เช่น เจอดินที่เพิ่งถมมาใหม่ๆยังไม่แน่นตัว หรือคำนวณการใช้เสาเข็มมาไม่เพียงพอเป็นต้น

5. เกิดการเคลื่อนตัวของดิน

การทรุดของดินมักเกิดขึ้นหลังที่เราสร้างบ้านเสร็จแล้ว โดยอาจจะเกิดจากปัจจัยภายนอกเช่น การขุดดินบริเวณข้างเคียงทำให้ดินเคลื่อนตัวดันเสาเข็มให้เคลื่อนออกจากเดิม เป็นต้น  การเคลื่อนไหลของดินจะเกิดขึ้นได้กับพื้นที่ที่มีความต่างระดับของพื้นดินมากๆ โดยเฉพาะถ้าบริเวณนั้นเป็นดินเหนียวอ่อนจะยิ่งมีโอกาสเคลื่อนไหลได้ง่าย เช่น บริเวณริมแม่น้ำ จึงอาจจะต้องมีการออกแบบโครงสร้างมาเป็นพิเศษที่ใช้ในการรับน้ำหนักตัวบ้าน หรือ แนะนำให้ทำกำแพงป้องกันการเลื่อนไหลของดินให้มีความแข็งแรงเพียงพอก่อนที่จะติดตั้งเสาเข็มของบ้านครับ

6. ปัญหาฐานรากเสาเข็มเยื้องศูนย์

ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับฐานรากเสาเข็มได้แก่ ความคลาดเคลื่อนในการตอกหรือติดตั้งเสาเข็ม ไม่สามารถตอกหรือติดตั้งเสาเข็ม ได้ตามตำแหน่งที่ออกแบบไว้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเยื้องศูนย์ ซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรม ( behavior ) ที่เกิดขึ้นกับเสาเข็ม ดังนั้น เมื่อตอกเสาเข็มเสร็จแล้ว จะต้องตรวจสอบตำแหน่งของเสาเข็ม หลังจากลงพื้นจะเป็นการดีที่สุด

สำหรับใครที่พบปัญหานี้เกิดขึ้นกับบ้านที่แสนรักของท่าน แล้วเกิดความกังวลใจต้องการที่ปรึกษา จากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง  Cealect มีทีมช่างที่คอยตอบโจทย์ลูกค้าและมีทีมงานคอยประสานงานตลอดเวลา เจ้าของบ้านสามารถโหลดและเรียกช่าง โดยสามารถทำความรู้เพิ่มเติมได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/Cealect

DOWNLOAD LINK