ตอนนี้ คุณเจอสถาปนิกหรือนักออกแบบบ้านมากมายที่สไตล์การแต่งบ้านเข้ากันดีกับความต้องการของคุณ คุณดูผลงานที่ผ่านมาของพวกเขา อ่านรีวิวและก็เซฟรูปที่พวกเขาเคยออกแบบเอาไว้เป็นไอเดียบ้างแล้ว และเลือกคนที่ไม่เกินงบของคุณได้อยู่ 2-3 คน ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่จะติดต่อ พูดคุย และสอบถาม แต่คุณจะถามอะไรพวกเขาดีล่ะ?

วันนี้ Cealect ได้รวบรวมคำถามที่น่าสนใจ และแนะนำให้คุณลองถามสถาปนิกที่คุณต้องการร่วมงานด้วยในการออกแบบ สร้างบ้าน หรือ รีโนเวทบ้านของคุณ มาดูกันเลย

1. “ถ้าจ้างคุณแล้ว หลังจากที่เราพูดคุยกันเสร็จวันนี้ ไปจนถึงวันที่ย้ายเข้าบ้านที่สร้างหรือรีโนเวทเสร็จแล้ว มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง”  

 

ทำไมถามคำถามนี้..ถ้าหากการสร้างหรือรีโนเวทบ้านเป็นเรื่องใหม่สำหรับคุณ ถามผู้เชียวชาญที่คุณคุยด้วยให้อธิบายถึงบริการอะไรบ้างที่พวกเขาทำให้กับคุณ ระยะเวลาในการทำงานเป็นอย่างไร มีอะไรที่คุณอาจจะต้องเตรียมใจเจอในระหว่างการทำงาน ข้อมูลเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณและครอบครัวเตรียมตัววางแผนระหว่างการสร้างหรือรีโนเวท แต่วิธีที่สถาปนิกหรือนักออกแบบตอบคำถามเหล่านี้ ก็จะทำให้คุณรู้ถึงวิธีหรือสไตล์การทำงานของแต่ละคนได้  

 

2. “มีคนอื่นในบริษัทคุณที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการทำบ้านครั้งนี้หรือไม่ ถ้าหากมี พวกเขาจะมีส่วนร่วมในด้านไหนบ้าง

 

ทำไมถามคำถามนี้..ถ้าคุณเลือกที่จะจ้างบริษัทสถาปนิก คุณอาจได้เข้าไปคุยกับเจ้าของหรือ CEO ของบริษัทนั้นๆ แต่เขาอาจจะไม่ใช่คนที่ทำโปรเจ็กต์ให้บ้านคุณก็เป็นได้ แต่พวกเขาจะเป็นคนที่คุยแผนแรกเริ่มกับคุณหรือเปล่า หรือพวกเขาจะส่งงานให้ สถาปนิกใหม่ๆ ที่อาจเหมาะสมกับโปรเจ็กต์เล็กๆของคุณ (ซึ่งก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงบ้าง) พยายามหาว่าใครทำอะไรในส่วนไหน และคุณรับได้หรือไม่

 

3. “ผู้รับเหมาจะเข้ามามีส่วนในโปรเจ็กต์ทำบ้านเมื่อไร และมีสัญญาอย่างไรบ้าง” 

 

ทำไมถามคำถามนี้.. เมื่อผู้รับเหมาเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนตั้งแต่ต้นๆ อาจจะส่งผลต่อการประเมินราคา และขอบเขตการออกแบบ เพราะพวกเขาสามารถที่จะให้ข้อมูลในเรื่องของราคาได้ตั้งแต่เริ่มต้น การหาผู้รับเหมา ก็อาจจะเป็นได้ทั้งจากการแนะนำของคนใกล้ตัวคุณเอง ซึ่งคุณอาจจะมีผู้รับเหมามาเองก่อนที่จะเลือกสถาปนิก ถ้าไม่มี สถาปนิกหรือนักออกแบบที่คุณคุยด้วย ก็อาจจะมีผู้รับเหมาที่พวกเขาทำงานด้วยกันได้ดีไว้อยู่แล้ว หรือสถาปนิกจะสร้างรูปแบบการออกแบบเอาไว้แล้วให้ผู้รับเหมาแต่ละเจ้ามาประเมินราคาให้โปรเจ็กต์คุณ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ผู้รับเหมาก็มักจะเป็นคนร่างสัญญาให้ลูกค้าดูก่อนอยู่แล้ว

 

 

4. “สิ่งที่ฉันอยากได้ สามารถทำได้ในงบที่ฉันมีหรือเปล่า

ทำไมถามคำถามนี้.. บางทีเราก็ต้องยอมรับว่า บ้านในฝันของเราบางครั้งก็อาจเกินงบที่เรามีไปมากโข และทำให้ราคาก่อสร้างเพิ่มขึ้นตามไป การถามคำถามนี้จะช่วยให้คุณวัดได้ว่าสถาปนิกพูดตรงกับคุณมากน้อยแค่ไหนตลอดขั้นตอน และสถาปนิกสามารถจะคุยกับคุณพร้อมหาทางออกที่จะทำให้ใกล้เคียงกับความต้องการบ้านในฝันของคุณได้มากที่สุด คำถามนี้ยังทำให้รู้ว่าการสร้างหรือรีโนเวทบ้านของคุณเหมาะกับสถาปนิกที่เคยรับงานในรูปแบบที่คล้ายๆ กัน หรืออาจจะเป็นอีกคนหนึ่งเลยก็ได้ และที่สำคัญคำถามนี้ก็อาจจะปลุกคุณจากความฝัน ว่าความต้องการของคุณอาจจะไม่สมเหตุสมผลกับงบของคุณในตอนนี้ก็ได้

 

5. “อะไรคือ ปัญหาหลักๆ ที่คุณเห็นว่าอาจเกิดขึ้นระหว่างการทำโปรเจ็กต์ครั้งนี้ และพวกเราจะจัดการกันอย่างไร” 

 

ทำไมถามคำถามนี้.. เหตุผลที่คำถามนี้มักเป็นคำถามที่เราได้ยินบ่อยๆ ในการสัมภาษณ์งาน ก็เพราะมันทำให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้โชว์ประสบการณ์ของเขา และวิธีที่พวกเขารับมือกับปัญหาต่างๆ และทำให้คุณรู้ว่ามีปัญหาอะไรบ้างที่อาจเกิดขึ้นได้จริงข้างหน้า และทำให้คุณรู้ว่าคุณสามารถไว้ใจที่จะให้สถาปนิกหรือนักออกแบบคนนี้ดูแลโปรเจ็กต์ร่วมกันได้

 

6. เราสามารถแก้ไขแบบได้เมื่อไรบ้าง และการแก้ไขแบบระหว่างการก่อสร้างเป็นอย่างไร

 

ทำไมถามคำถามนี้.. คุณจะต้องอยากเข้าใจถึงกฎเบื้องต้นว่าการขอเปลี่ยนแบบส่งผลกระทบอย่างไรต่อระยะเวลาในการทำงานและค่าใช้จ่ายของการทำโปรเจ็กต์นั้นๆ สถาปนิกและนักออกแบบบ้านมักจะมีภาษาสำหรับปัญหาเหล่านี้ในสัญญาอยู่ แต่ทางที่ดีก็ควรคุยกันให้เข้าใจทั้งสองฝ่ายตั้งแต่เนิ่นๆ

 

7. แบบแปลนประเภทไหนที่ฉันจะได้รับ?

 

ทำไมถามคำถามนี้.. ถ้าพูดโดยรวม งานของสถาปนิกก็แบ่งออกเป็นส่วนการออกแบบวาดเสก็ตภาพ ในช่วงแรกๆ ของการทำงาน สถาปนิกจะเสก็ตภาพแปลนบ้านโดยรวม เน้นดึงเอาจุดประสงค์หลักของการออกแบบ และมีทางเลือกต่างๆ เช่น ภูมิทัศน์ตัวบ้านจะเป็นอย่างไรเหมือนเสร็จ หรือแสงจะเข้าผ่านห้องไหน มากน้อยแค่ไหน จากนั้น ภาพเสก็ตก็จะเข้าสู่กระบวนการพัฒนาการออกแบบ ที่ลงรายละเอียดมากขึ้น เช่น ระบบท่อน้ำ ระบบไฟฟ้า ระบบท่อระบายอากาศ หรือระบบการทำงานของเครื่องปรับอากาศ  

 

สำหรับงานที่เป็นทางการ และเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาหน่อย ซึ่งเป็นแบบที่ผู้รับเหมามักจะก่อสร้างตาม ก็มักจะเป็นแปลนบ้านที่เป็น Floor plan ว่าอะไรอยู่ตรงไหนระยะห่างเท่าไร โดยสถาปนิกบางเจ้าก็อาจจะเก็บค่าบริการเพิ่มเติมสำหรับการดีไซน์แบบเนื้อผ้า สีของพื้น ผนัง ตู้บิ้วอิน และอื่นๆ ทั้งในแบบ มิติ หรือการวาดก็ตาม   

 

8. คุณคิดราคาอย่างไร และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

 

ทำไมถามคำถามนี้.. สถาปนิกและนักออกแบบต้องการที่จะรู้ว่างบประมาณของลูกค้าในการก่อสร้างคือเท่าไร พอๆ กับที่คุณเองก็ต้องรู้ว่าพวกเขามีงบประมาณเท่าไรในใจ คุณต้องแน่ใจว่าคุณเข้าใจว่าการจ่ายเงินนั้นเป็นอย่างไร มีวิธีแบ่งจ่ายอย่างไร กี่งวด และ มีค่าบริการแฝงเพิ่มเติมอื่นๆ อีกหรือไม่ เช่น ค่าบริหารจัดการ และอื่นๆ

 

 

9. ทำไมคุณถึงเหมาะสมกับการเป็นสถาปนิกหรือผู้ออกแบบงานนี้

 

ทำไมถามคำถามนี้.. คำถามนี้จะเปิดโอกาสให้สถาปนิกและนักออกแบบหยิบยกเอาตัวอย่างของงานที่พวกเขาเคยทำมาที่เหมาะสมหรือคล้ายกับความต้องการของคุณ ดังนั้น พยายามมองหาคุณค่าบางอย่างที่ทั้งตัวนักออกแบบและคุณเองมีร่วมกัน และสามารถทำงานได้อย่างดี  

 

10. คำถามที่ทำให้คุณรู้จักสถาปนิกหรือนักออกแบบนั้นๆ ให้มากขึ้น

 

ทำไมถามคำถามนี้.. การลงมือสร้างบ้านทั้งหลังหรือรีโนเวทบ้านสักหลัง เคมีในการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าของบ้านและสถาปนิกผู้ออกแบบบ้านก็มีส่วนสำคัญในการทำงานร่วมกันไม่น้อย อย่าลืมถามคำถามที่จะทำความรู้จักพวกเขาได้มากขึ้น เพื่อให้รู้ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ อารมณ์ และวิธีการสื่อสารของพวกเขาเบื้องต้น พยายามวิเคราะห์และเชื่อความรู้สึกของคุณเอง เพราะถ้าคุณรู้สึกอึดอัดใจกับลักษณะของสถาปนิกที่อาจจะเข้าไม่ได้กับคุณ และต้องทำงานร่วมกันเป็นเวลานานตลอดโปรเจ็กต์ ก็คงจะไม่ใช่ช่วงเวลาที่ดีเท่าไรเลย ดังนั้น พยายามเลือกคนที่คุณรู้สึกไว้ใจ และสบายใจ คุยกันรู้เรื่องถูกคอก็ทำให้เรื่องต่างๆ ง่ายขึ้นเยอะ

 

อย่าลืมลองพิจารณานำคำถามเหล่านี้ไปใช้ถามสถนปนิกหรือ นักออกแบบบ้านของคุณดูด้วยละ